ข้อมูลหลักสูตร
ระยะเวลา
เริ่มลงทะเบียน ตุลาคม 2562 สิ้นสุดการประเมิน 30 พฤศจิกายน 2562
เนื้อหา 6 บทเรียน
เหมาะสำหรับ ผู้เรียนอายุ 20 – 35 ปี
ระดับที่เหมาะสม ขั้นพื้นฐาน
เกี่ยวกับรายวิชา
ตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานกลุ่มสาระศิลปศึกษา ประกอบด้วยสาระทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์และการละคร โดยการจัดการเรียนรู้ศิลปศึกษาในโรงเรียนมีเป้าหมายเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้มีความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ ศิลปศึกษาเป็นแกนเชื่อมโยงความรู้และการปฏิบัติแก่ผู้เรียน โดยบูรณาการทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์และการละครกับวิชาอื่นๆ เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น เพื่อแก้ปัญหาในกระบวนการเรียนรู้ ลดความซับซ้อนในเนื้อหาสาระ และผู้เรียนสร้างความเข้าใจได้ด้วยตนเอง – พิสิฐ น้อยวังคลัง การจัดการเรียนการสอนศิลปศึกษาจึงมีบทบาทเป็นแกนกลางเชื่อมโยงประสบการณ์แก่ผู้เรียน ในการจัดการเรียนรู้โดยบูรณาการทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์และการละครกับวิชาอื่นๆ เช่น คณิตศาสตร์ ภาษาอังกฤษ วิทยาศาสตร์ เป็นต้น เพื่อช่วยแก้ปัญหาในกระบวนการเรียนรู้ ลดความซับซ้อนในเนื้อหาสาระ และสร้างความเข้าใจได้ด้วยตนเอง การที่จะนำศิลปศึกษาไปบูรณาการกับวิชาอื่น ผู้เรียนต้องมีความเข้าใจในเนื้อหาวิชาศิลปศึกษา ซาบซึ้งเห็นคุณค่าของทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์และการละครอย่างแท้จริงก่อนที่จะนำศิลปะไปใช้ในการบูรณาการกับความรู้อื่น ๆ ไม่เช่นนั้นการนำศิลปศึกษาไปบูรณาการก็จะไม่เกิดประโยชน์ ดังนั้นชุดบทเรียนออนไลน์แบบเปิดนี้จึงได้นำเสนอตัวอย่างแนวคิด และแนวปฏิบัติในการจัดการเรียนรู้แบบบูรณาการเนื้อหาวิชาในกลุ่มสาระศิลปศึกษาเข้าไว้ด้วยกัน เพื่อเป็นแนวทางสำหรับครูศิลปศึกษานำไปใช้ส่งเสริมให้ผู้เรียนให้เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาของทัศนศิลป์ ดนตรี นาฏศิลป์และการละคร จากการเชื่อมโยงองค์ประกอบต่างๆของศิลปะแต่ละแขนงเข้าด้วยกันซึ่งก็คือหลักการทางศิลปะ องค์ประกอบพื้นฐานทางศิลปะ และการสื่อสาร
วัตถุประสงค์
1. เพื่อให้ผู้เรียนเข้าใจหลักการออกแบบกิจกรรมบูรณาการศิลปศึกษา
2. สามารถนำหลักการและกรณีศึกษาไปประยุกต์ใช้กับการวางแผนกิจกรรมในชั้นเรียนได้ เกณฑ์
การวัดและประเมินผลในรายวิชา มีการวัดและประเมินผลผ่านแบบทดสอบย่อย (Quiz) แบบฝึกหัดระหว่างเรียน (Exercise) และแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) โดยจะแบ่งเป็นคะแนนจาก Quiz เท่ากับ 15 คะแนน คะแนนจาก Exercise เท่ากับ 15 คะแนน และคะแนนจาก การออกแบบบทเรียน เท่ากับ 40 คะแนน สะท้อนการเรียนรู้ เท่ากับ 30 คะแนน ทั้งนี้ผู้เรียนต้องทำคะแนนรวมทั้งหมดให้ได้ร้อยละ 80 ขึ้นไป และเรียนจบภายในเวลาที่กำหนดจึงจะสามารถขอรับ Certificate of Completion ได้ หมายเหตุ ผู้เรียนจะมีสิทธิ์ทำแบบทดสอบหลังเรียน (Posttest) เมื่อเข้าร่วมกิจกรรมการเรียน (Course Progress) มากกว่า 80% ขึ้นไป
อาจารย์ผู้สอน
เบญจ์ บุษราคัมวงศ์
ครูกระบวนการ
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พิสิฐ น้อยวังคลัง
อาจารย์
โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์